งานที่มีความร้อน หมายถึง กิจกรรมใดๆ ที่เกิดเปลวไฟ ความร้อน หรือประกายไฟ อาจทำหน้าที่เป็นแหล่งกำเนิดประกายไฟในบริเวณที่วางหรือจัดการวัสดุไวไฟ งานที่มีความร้อน
ได้แก่ การตัด การเชื่อม การบัดกรี และกระบวนการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เปลวไฟ ในกรณีที่อาจมีบรรยากาศที่ติดไฟได้ ควรรวมกิจกรรมการเจาะและการเจียรไว้ในงานที่มีความร้อนด้วย
งานที่มีความร้อนเป็นอันตรายอย่างยิ่งเมื่อเกิดขึ้นในที่ที่มีก๊าซ ไอของเหลว หรือของแข็งที่อาจติดไฟได้ เกือบ 6% ของเพลิงไหม้อุตสาหกรรมเกิดขึ้นระหว่างกิจกรรม Hot work ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีข้อควรระวังด้านความปลอดภัยโดยเฉพาะในระหว่างกิจกรรมการทำงานที่เกี่ยวข้องกับความร้อน
1. ตัวอย่างไฟไหม้และระเบิดระหว่างการทำงานที่มีความร้อน
ในเดือนมกราคม ปี 2022 ในสถานที่ก่อสร้างแห่งหนึ่ง ช่างเชื่อมและผู้ช่วยคนหนึ่งเสียชีวิตในเหตุการณ์ไฟไหม้ที่ก่อให้เกิดการระเบิด ขณะกำลังเชื่อมโครงสร้างเหนือศีรษะซึ่งมีความสูงประมาณ 10 ฟุต แทนที่พวกเขาจะใช้บันไดในการปีน แต่เลือกใช้ถังเปล่าที่เคยบรรจุน้ำมันดีเซลอยู่ภายในถัง ช่างเชื่อมไม่ได้สังเกตเห็นร่องรอยของน้ำมันดีเซลภายในถังเมื่อสะเก็ดไฟจากการเชื่อมตกลงมาและเข้าไปในฝาถังที่เปิดอยู่ทำให้เกิดการระเบิดซึ่งเป็นสาเหตุให้มีผู้เสียชีวิตเกิดขึ้น
2. อันตรายจากการทำงานที่มีความร้อน
อันตรายที่พบบ่อยที่สุดของการทำงานที่เกี่ยวข้องกับความร้อนคือไฟไหม้และการระเบิด
อันตรายจากไฟไหม้
- ประกายไฟตกลงมา : การเกิดสะเก็ดไฟหรือประกายไฟในระหว่างการเชื่อม การตัด การเจียร หรือกิจกรรมอื่นๆ ทำให้เกิดแหล่งกำเนิดประกายไฟซึ่งสามารถทำให้เชื้อเพลิงจุดติดไฟได้ง่าย
- โลหะ ตะกรัน หรือเศษโลหะหลอมเหลว : โลหะหลอมเหลวและตะกรันซึ่งเกิดจากการตัดหรือการเชื่อมมีอุณหภูมิสูงมากสามารถเผาวัสดุใดๆ ได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว
- การนำความร้อนบนโลหะ : โลหะที่ได้รับความร้อนในระหว่างการทำงานอาจนำความร้อนจากปลายด้านหนึ่งไปยังปลายอีกด้านหนึ่ง เมื่อมีบรรยากาศหรือวัสดุที่ติดไฟได้ที่ปลายอีกด้านอาจก่อให้เกิดเพลิงไหม้
- สภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดการระเบิด : ไอหรือก๊าซของวัสดุไวไฟในอากาศสามารถจุดติดไฟได้ง่ายในระหว่างการทำงานที่มีความร้อน ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มงานที่มีความร้อนใดๆ จะต้องกำจัดก๊าซดังกล่าวออกก่อน
อันตรายอื่นๆ
- อันตรายต่อสุขภาพ : ในระหว่างการเชื่อมหรือการตัด ควันจะถูกสร้างขึ้นซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจของช่างเชื่อม ไม่เพียงแต่ควันเชื่อมเท่านั้นแต่ยังรวมถึงควันที่เกิดจากการสะสมของสารตกค้างบนพื้นผิวการตัดหรือการเชื่อมอีกด้วย
- อันตรายจากไฟฟ้า : เครื่องเชื่อม เครื่องเจียร และอุปกรณ์อื่นๆ ทั้งหมดที่ใช้สำหรับงานที่มีความร้อนต้องใช้ไฟฟ้าซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าช็อต
- การแผ่รังสี : การเชื่อมจะสร้างแสงยูวีซึ่งส่งผลต่อดวงตาหากทำงานด้วยตาเปล่า
- อันตรายจากการเผาไหม้ : โลหะหลอมเหลวหรือพื้นผิวที่ร้อนจะทำให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายไหม้หากสัมผัสระหว่างการทำงานที่มีความร้อน
นอกจากอันตรายที่กล่าวไปอาจมีอันตรายระหว่างการทำงานที่มีความร้อนอื่นๆ ขึ้นอยู่กับพื้นที่ทำงานและสภาพแวดล้อมรอบๆ ด้วย
3. มาตรการควบคุมงานที่ทำเกี่ยวกับความร้อน
มาตรการควบคุมงานที่ทำเกี่ยวกับความร้อนมีอยู่หลายมาตรการด้วยกัน ได้แก่
การกำจัด
กำจัดกิจกรรมเกี่ยวกับความร้อนเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากไฟไหม้หรือการระเบิด
การแทนที่
แทนที่งานที่มีความร้อนด้วยวิธีที่เป็นอันตรายน้อยกว่า เช่น ใช้การเจาะ ต๊าป และซ่อมแซมส่วนที่เสียหายด้วยการขันน๊อตแทนวิธีตัดที่มีความร้อน
การควบคุมทางวิศวกรรม
ใช้การควบคุมทางวิศวกรรมเพื่อกำจัดก๊าซหรือของเหลวที่ติดไฟได้ออกจากพื้นที่ทำงานที่ใช้ความร้อน เช่น พัดลมดูดอากาศ เครื่องเป่าลม เป็นต้น
ระบบการอนุญาต
งานที่ทำเกี่ยวกับความร้อนต้องดำเนินการโดยผู้ที่ได้รับอนุญาตและผ่านการฝึกอบรม และต้องมีระบบอนุญาตทำงานหรือที่เรียกว่า Hot Work Permit เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานที่เกี่ยวข้องกับความร้อน
อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE)
PPE เป็นอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตราย ส่วนบุคคลที่เหมาะสมจะสามารถป้องกันอันตรายให้กับผู้ปฏิบัติงานได้ เช่น หน้ากากเชื่อม ถุงมือหนัง ผ้ากันเปื้อน รองเท้านิรภัย เป็นต้น
4. ข้อควรระวังด้านความปลอดภัยทั่วไปสำหรับงานที่มีความร้อน
งานที่มีความร้อนเข้ามาเกี่ยวข้องอาจก่อให้เกิดไฟไหม้และเกิดการระเบิดได้ หากไม่มีมาตรการหรือข้อควรระวังในการทำงาน ต่อไปนี้คือข้อควรระวังด้านความปลอดภัยทั่วไปสำหรับงานที่มีความร้อน
- ต้องมีใบอนุญาตทำงานเกี่ยวกับ Hot work ที่จำเป็นสำหรับกิจกรรมการทำงานที่มีความร้อนเข้ามาเกี่ยวข้อง
- โรงงานจะมีการจัดอบรม ผู้เฝ้าระวังไฟ เพื่อให้ผู้ทำงานเกี่ยกับความรู้เรียนรู้การทำงานอย่างปลอดภัย รวมถึงการจัดทำเอกสาร Hot Work Permit อย่างถูกต้อง (ส่วนใหญ่จะจัดอบรมผู้เฝ้าระวังไฟ อินเฮ้าส์ เพื่อให้ได้ทดลองปฏิบัติในสถานที่จริงได้)
- บริเวณโดยรอบต้องปราศจากวัสดุไวไฟและติดไฟได้
- งานที่เกี่ยวข้องกับความร้อนจะต้องไม่ดำเนินการในหรือติดกับพื้นที่อันตราย เว้นแต่จะมีการทดสอบก๊าซโดยใช้เครื่องทดสอบก๊าซที่ได้รับอนุญาตแล้ว
- ต้องมีการทดสอบบรรยากาศทุกครั้งที่มีการทำงานที่มีความร้อนภายในรัศมี 15 เมตรถึงถังเก็บหรือภาชนะที่มีหรือเคยมีวัตถุไวไฟหรือสงสัยว่าอาจติดไฟได้
- หากทำงานที่มีความร้อนใกล้สถานที่ที่อาจก่อให้เกิดไฟไหม้หรือระเบิดได้ ต้องมีการตรวจสอบก๊าซไวไฟอย่างต่อเนื่อง
- อุปกรณ์ทั้งหมดต้องปราศจากข้อบกพร่อง ตรวจสอบอุปกรณ์ทั้งหมดก่อนใช้งาน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าชิ้นส่วนของอุปกรณ์อยู่ในสภาพดีเพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น
- ใช้ PPE ที่เหมาะสมสำหรับงานที่มีความร้อน
- เตรียมแผนฉุกเฉินให้พร้อมเสมอเพื่อบรรเทาเหตุฉุกเฉิน จัดเตรียมถังดับเพลิง ท่อส่งน้ำ ถังทราย ถังน้ำ หรือรถดับเพลิงให้พร้อมตามความร้ายแรงของงาน เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุฉุกเฉิน
- ตรวจสอบทิศทางลมในการทำงานในพื้นที่เปิดโล่งเสมอ ทุกคนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงต้องได้รับการแจ้งเตือนถึงความเสี่ยงจากไฟไหม้
- ใช้บูทสำหรับงานเชื่อมในการเชื่อม
- งานที่ทำเกี่ยวกับความร้อนจะต้องดำเนินการโดยบุคคลที่ได้รับอนุญาต ซึ่งได้รับการฝึกอบรมสำหรับงานที่มีความร้อนโดยเฉพาะ
- หลีกเลี่ยงการทำงานเกี่ยวกับความร้อนบนที่สูงเสมอ พยายามทำงานเกี่ยวกับความร้อนบนที่สูงให้หน้อยที่สุดถ้าทำได้
- กั้นพื้นที่เพื่อจำกัดการเข้ามาของบุคลากรที่ไม่เกี่ยวข้องเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากประกายไฟ
- ห้ามสูบบุหรี่ในพื้นที่ที่มีการทำงานเกี่ยวกับความร้อนโดยเด็ดขาด
- หลังจากเสร็จสิ้นงานที่ทำเกี่ยวกับความร้อนแล้ว จะต้องเฝ้าระวังพื้นที่เป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที เพื่อขจัดความเสี่ยงที่จะเกิดเพลิงไหม้ตามมาในภายหลัง
- ใช้การระบายอากาศที่เหมาะสมสำหรับงาน Hot work ที่ทำในพื้นที่อับอากาศ
สรุป
งานที่ทำเกี่ยวกับความร้อนหรือที่เรียกว่า Hot Work อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง หากไม่มีมาตรการด้านความปลอดภัยที่ดีพอ โดยส่วนใหญ่ทางโรงงานจะมีการตั้งผู้เฝ้าระวังไฟ เพื่อให้มาดูแลความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน เมื่อต้องทำงานที่มีความร้อนเข้ามาเกี่ยวข้องจำเป็นต้องมีระบบ Hot Work Permit (ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้เฝ้าระวังไฟที่ต้องจัดทำ) เพื่อเป็นการควบคุมด้านความปลอดภัย หากไม่มีระบบการอนุญาตทำงานที่มีความร้อนแล้ว อาจก่อให้เกิดไฟไหม้หรือระเบิดตามมาได้