การมี คณะกรรมการความปลอดภัยและสุขภาพอาชีพ (คปอ.) ในสถานประกอบกิจการเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากมีผลต่อด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญ
การมี คปอ. ในสถานประกอบกิจการ มีความสำคัญอย่างไร
การขับเคลื่อนด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของสถานประกอบกิจการ ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนายจ้าง หรือลูกจ้าง เพราะงานด้านความปลอดภัย เป็นหน้าที่ของทุกคน หากใครคนใดคนหนึ่งไม่ให้ความร่วมมือแล้ว ย่อมเป็นเรื่องยากที่จะประสบความสำเร็จได้
1. คปอ.คือใคร
คปอ. หรือ คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (Safety Committee) หมายความว่า กรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ ซึ่งประกอบด้วย นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร เป็นประธาน ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชาและผู้แทนลูกจ้าง เป็นกรรมการความปลอดภัย
2. คปอ.ต้องมีจำนวนเท่าไหร่ และทำหน้าที่อะไร
การกำหนดจำนวน คปอ. หรือคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
นอกจากต้องจัดให้มีจำนวนขั้นต่ำตามกฎหมายแล้ว ยังต้องกำหนดให้มีความเหมาะสมกับขนาดของสถานประกอบกิจการด้วย เพราะหากมีจำนวนน้อยเกินไปอาจทำให้การปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยของสถานประกอบกิจการไม่มีประสิทธิภาพ หรือทำได้ไม่ดีพอ หรือหากมีจำนวนมากเกินไป อาจทำให้เกิดความวุ่นวาย ในกรณีที่ต้องมีการลงความเห็นในที่ประชุม ซึ่งในการกำหนดจำนวนของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ดูได้จากกฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 หมวด 2 คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ ซึ่งสามารถสรุปเป็นตารางได้ดังนี้
ตารางแสดงจำนวนขั้นต่ำของ คปอ. ในสถานประกอบกิจการ
บัญชีท้ายกฎกระทรวง |
จำนวนพนักงาน 50 – 99 คน |
จำนวนพนักงาน
|
จำนวนพนักงาน 500 คนขึ้นไป |
บัญชี 1 |
(จป.เทคนิคขั้นสูงหรือวิชาชีพ ระดับบังคับบัญชา) |
(จป.เทคนิคขั้นสูงหรือวิชาชีพ ระดับบังคับบัญชา) |
(จป.เทคนิคขั้นสูงหรือวิชาชีพ ระดับบังคับบัญชา) |
บัญชี 2 |
(จป.เทคนิคขั้นสูงหรือวิชาชีพ ระดับบังคับบัญชา) |
(จป.เทคนิคขั้นสูงหรือวิชาชีพ ระดับบังคับบัญชา) |
(จป.เทคนิคขั้นสูงหรือวิชาชีพ ระดับบังคับบัญชา) |
บัญชี 3 |
(ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา) |
(ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา) |
(ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา) |
หน้าที่ของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ของสถานประกอบกิจการ ตามกฎหมาย กำหนดไว้ 12 ข้อ ดังต่อไปนี้
- จัดทำนโยบายด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการเสนอต่อนายจ้าง
- จัดทำแนวทางการป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือ การเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างหรือความไม่ปลอดภัยในการทำงานเสนอต่อนายจ้าง
- รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขสภาพการทำงานและ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้เป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้างเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ผู้รับเหมาและบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานหรือเข้ามาใช้บริการในสถานประกอบกิจการ
- ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
- พิจารณาคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการเพื่อเสนอความเห็นต่อนายจ้าง
- สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงานและรายงานผลการสำรวจดังกล่าว รวมทั้งสถิติการประสบอันตรายที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการนั้น ในการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยทุกครั้ง
- พิจารณาโครงการหรือแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงโครงการหรือแผนการอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยของลูกจ้าง หัวหน้างาน ผู้บริหาร นายจ้างและบุคลากรทุกระดับเพื่อเสนอความเห็นต่อนายจ้าง
- จัดวางระบบให้ลูกจ้างทุกคนทุกระดับมีหน้าที่ต้องรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยต่อนายจ้าง
- ติดตามผลความคืบหน้าเรื่องที่เสนอต่อนายจ้าง
- รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีรวมทั้งระบุปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการความปลอดภัยเมื่อปฏิบัติหน้าที่ครบหนึ่งปีเสนอต่อนายจ้าง
- ประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
- ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย
3. คปอ.มีความสำคัญอย่างไร
จากหน้าที่ของ คปอ. ตามกฎหมายกำหนด 12 ข้อข้างต้น จะเห็นได้ว่า คปอ. มีบทบาทที่สำคัญในงานด้าน ความปลอดภัยเป็นอย่างมาก โดยเริ่มตั้งแต่การจัดทำนโยบายด้านความปลอดภัย จัดทำแนวทางป้องกันและลดอุบัติเหตุจากการทำงาน ซึ่งถือว่าการป้องกันและลดอุบัติเหตุจากการทำงานเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และนอกจากการป้องกันและลดอุบัติเหตุแล้ว ยังมีหน้าที่ส่งเสริมและสนันสนุนกิจกรรมด้านความปลอดภัยอีกด้วย ซึ่งถือได้ว่า คณะกรรมการความปลอดภัยเป็นกลุ่มคนที่ขับเคลื่อนด้านความปลอดภัย ของสถานประกอบกิจการ ทำให้งานด้านความปลอดภัยสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งหากไม่มีคนกลุ่มนี้แล้วงานด้านความปลอดภัย อาจไม่สามารถดำเนินต่อไปได้
สรุป
นายจ้างควรให้ความสำคัญส่งพนักงานไป อบรม คปอ. เพื่อดำเนินงานด้านความปลอดภัยของสถานประกอบกิจการจะสามารถสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้นอกจากต้องอาศัย การทำงานเป็นทีมของคณะกรรมการความปลอดภัยแล้ว ยังต้องได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากทุกหน่วยงานภายในสถานประกอบกิจการ เพราะความปลอดภัยไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ที่ทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกัน